ทีดีอาร์ไอเตือนสติ “คนตัวเล็กและคนออมเงิน”ต้องเผื่อใจ ลงทุน บิทคอยน์ เสี่ยงขาดทุน/ถูกโกง ค่ายบิทคับชู 4หลักการลงทุนคริปโทปลอดภัย- “ปริญญา หอมเอนก” เผยวิธีป้องกันภัยคุกคาม “สฤณี อาชวนันทวกุล”ระบุการเงินโลกใหม่ต้องไม่ละเลยผู้บริโภค

ภัยคุกคามทางการเงินออนไลน์ วันที่ 15 มีนาคม ของทุกปี ถูกกำหนดเป็น“วันสิทธิผู้บริโภคสากล” สำหรับปี 2565 สภาองค์กรผู้บริโภคไทย ร่วมรณรงค์ ภายใต้ประเด็น “การเงินในโลกดิจิทัล ที่เป็นธรรม” โดยเฉพาะประชากรโลกกว่า 8,000ล้านคนมีการใช้บริการดิจิทัลแล้วกว่า 3,600ล้านคนแล้ว

จึงเป็นที่มาของการจัดเวทีออนไลน์ หัวข้อ “ สิทธิผู้บริโภคเมื่อเผชิญหน้าภัยคุกคามทางการเงินออนไลน์” โดยรวบรวมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน ด้านเศรษฐกิจ สะท้อนมุมมองเพื่อหาแนวทางกำกับดูแลและป้องกันภัยต่อผู้บริโภค

ภัยคุกคามสามารถร้องเรียน247องค์กร

“ สารี อ่องสมหวัง” เลขาธิการ สภาองค์กรผู้บริโภคไทยบอกว่า ปัจจุบันผู้บริโภคส่วนใหญ่มีส่วนใช้บริการทางการเงินออนไลน์มากขึ้น ประกอบกับโลกมีความซับซ้อนมากขึ้นรวมถึงปัญหาโลกร้อนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของทุกคน

 

โดยปีนี้ทั่วโลกให้ความสำคัญเรื่อง การเงินต้องเป็นธรรมกับผู้บริโภค (Fair Digital Finance) ซึ่งสภาองค์กรผู้บริโภคในไทยและทุกประเทศเป็นสมาชิกสหพันธ์บริโภคสากลทำงานร่วมกัน มีสมาชิก 247องค์กรในประเทศไทย 33จังหวัด ใครเดือดหรือมีภัยคุกคามสามารถร้องเรียนได้

ทีดีอาร์ไอเตือนสติ “คนตัวเล็กและคนออมเงินต้องเผื่อใจถ้าไม่มีเงินเย็น

“ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ” ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการเงินหรือฟินเทคที่มีพัฒนาการ รูปแบบมากขึ้นและการใช้มือถือและการใช้แอปพลิเคชั่นโอนเงินผ่านมือถือ รวมถึงตอนนี้ สกุลเงินใหม่ที่สร้างจากบลอคเชน เรียกว่า “คริปโทเคอเรนซี่”หรือ

 

“บิทคอยน์” ที่ได้รับความนิยม โดยผู้บริโภคเข้าไปถือครองมากมาย แต่ประเด็น “บิทคอยน์”ไม่ใช่เงิน(เงินในความหมายเศรษฐศาสตร์ต้องทำหน้าที่ 3 อย่างคือ เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ,เป็นมาตรวัดมูลค่าและเก็บมูลค่าได้) แต่เป็นสินทรัพย์เสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจ โดยบิทคอยน์มีต้นทุนสูง ราคาผันผวนมากว่า 10%เทียบกับหุ้นของบริษัทชั้นนำ

 

และความผันผวนยากจะอธิบายปัจจัยพื้นฐาน ราคาผันผวนมาจากเก็งกำไร และมูลค่าจากเก็งกำไรมีโอกาสเป็นฟองสบู่จากการดูดคนเงินใหม่เข้าไป มีความซับซ้อนโอกาสเป็นแชร์ลูกโซ่จากการชักชวนกัน จึงต้องระมัดระวัง แม้จะบอกว่ามีจำนวนเหรียญจำกัด 21ล้านเหรียญ แม้กระทั่งที่ดินก็มีจำกัดแต่ราคาไม่ได้พุ่งเสมอไป

นอกจากนี้ “บิทคอยน์” สร้างความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม เพราะใช้พลังงานไฟฟ้ามหาศาล เพราะต้องใช้ไฟฟ้าทำเหมืองบิทคอยน์เท่ากับการใช้ไฟของประเทศมาเลเซีย

“บิทคอยน์ ไม่ใช่เงิน แต่เป็นสินทรัพย์เสี่ยงราคาผันผวนมาจากการเก็งกำไรไม่สามารถอธิบายมูลค่า/ปัจจัยพื้นฐาน เหมือนแชร์ลูกโซ่ แม้ใครคิดว่าบิทคอยน์เป็นโลกยุคใหม่ แต่ต้องเข้าใจความเสี่ยง ไม่ใช่แค่ดาวน์โหลดแอปเข้าไปเล่นเกม หรือเล่นบิทคอยน์ โดยไม่มีความรู้ โดยเฉพาะคนตัวเล็กและในฐานะคนออมเงินถ้าไม่มีเงินเย็นก็ต้องเผื่อใจ เพราะมีความเสี่ยงกับการฉ้อโกง-ขาดทุน”

 

บิทคับแนะหลักลงทุนคริปโทปลอดภัย

“ สุกฤษฏิ์ พุทธวิริยะ” ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัทบิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์จำกัด และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทบิทคับแล็บส์จำกัด กล่าวว่า คริปโทเคอเรนซีข้อดีเป็นการใช้เทคโนโลยีบลอคเชนสามารถโอนเงินออนไลน์ได้ และมีความโปร่งใส แต่ข้อเสียกรณีโอนผิดเครือข่ายซึ่งต้องพัฒนาให้คนรู้และต้องมีการควบคุม

 

สำหรับปัญหาจากการลงทุนของนักลงทุนไทยผู้ลงทุนในคริปโทนั้น เป็นเรื่องใหม่ของคนไทย ซึ่งคนที่เข้ามาลงทุนโดยความไม่รู้ในสินทรัยย์บ้างกู้เงินมาซึ่งเป็นข้อควรระวังไม่อยากให้เกิดขึ้น หรือการโอนเงินผิดเครือข่ายหรือโอนไปกระเป๋าอีกเหรียญ และเรื่องป้องกันความปลอดภัยของบัญชีตัวเอง เพราะอยู่บนออนไลน์โดยแนะนำให้เปิดพาสเวิร์ดสองขั้น เพราะโจรกรรมมากขึ้นทั้งฟิชชิงหรือหลอกทางอีเมล์โดยไม่สามารถยึดเงินเหมือนธนาคาร ส่วนกรณีเกิดแชร์ลูกโซ่นั้น คริปโทเป็นอีกสินทัรัพย์ประเภทหนึ่งซึ่งอาจจะอ้างอิงให้คนเข้าใจผิด โดยเรามีบิทคับอะคาเดมี ชั้น6 เอ็มควอเทียร์ให้ความรู้สาธารณะอยู่

“ปัญหาโอนผิดเชนนั้น เรายังช่วยตรวจสอบโดยไม่ทำงานระบบความปลอดภัย หากกู้คืนก็พร้อมช่วยเหลือ”

มองในในแง่ข้อดี กรณีผลิตเหรียญออกมาเทียบกับการผลิตเงินออกมาซึ่งมีผลต่อเงินเฟ้อที่ยังอยู่ระหว่างแก้ไขปัญหา ขณะที่บิทคอยน์สามารถแลกเปลี่ยนได้โดย แต่ละประเทศจะมีศูนย์แลกเปลี่ยนและกรณีเกิดสงครามรัสเซียเริ่มเห็นคนถือเงินสดน้อยลงหันมาถือบิทคอยน์หรือสินทรัพย์อื่นๆ ซึ่งปัจจุบันGlobal Currency จะมีศูนย์แลกเปลี่ยนสกุลเงินของแต่ละประเทศ แต่การถือครอง “บิทคอยน์” เช่นเดียวกับการ หุ้น หรือทองคำ ซึ่งมีการลงทุนหรือเก็งกำไร

แนะวิธีป้องกันภัยคุกคาม

“ ดร.ปริญญา หอมเอนก” ประเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง ACIS Professional Center Co., Ltd. (ACIS) กล่าวว่า เงินดิจิทัลจะมีทั้งข้อดี ข้อเสีย โดยภัยคุกคามทางการเงินนั้น เพราะความสะดวกและรวดเร็วจากบริการเงินผ่านมือถือหรือออนไลน์ ทำให้เงินจะออกจากกระเป๋าอย่างรวดเร็ว จึงมี โอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงตามมา

 

ที่สำคัญ อย่าให้รหัส OTPคนอื่น เพราะที่ผ่านมา แม้กระทั่งบริการสมัครงานออนไลน์ ได้สร้างความเสียหายเกิดขึ้นแล้ว ที่ผ่านมามีการหารือระหว่างธนาคารในการป้องกันอาชญากรรม โดยการพัฒนาระบบ กรณีเกิดการโอนเงินผิด แม้ธสถาบันการเงินไม่มีสิทธิจะปิดบัญชีก็ตาม แต่อยากให้ธนาคารปิดช่องทางออนไลน์เพื่อชะลอไม่ให้คนไปถอนเงิน ทั้งนี้ อาจจะทำระบบปิดช่องทางออนไลน์เพื่อช่วยผู้บริโภคหรือเด็กที่โอนเงิน

 

สำหรับวิธีป้องกันจากภัยคุกคามนั้น ต้องยอมรับว่าไม่มีใครรอดไปได้ รวมทั้งผมเอง ทุกคนมีโอกาสตกเป็นเหยื่อ คือ ป้องกัน 100%ไม่มี แต่เราเตรียมความพร้อมได้ เช่น การแยกบัญชีเงินเดือนออกจากบัญชีเพื่อการใช้จ่ายออนไลน์ อย่าใช้บัญชีเงินฝากที่มีวงเงินสูงไปผูกกับบัญชีการใช้จ่ายอื่นเด็ดขาด โดยการเปิดบัญชีใหม่ ด้วยวงเงินที่น้อย เพื่อการชำระเงินหรือโอนเงินออนไลน์ หรือจำกัดวงเงินโอนต่อวัน

 

การเงินโลกใหม่ต้องไม่ละเลยผู้บริโภค

“สฤณี อาชวนันทวกุล” นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์ และนักวิจัยโครงการ Fair Finance Thailand กล่าวว่า ดิจิทัลไฟแนนซ์เป็นโลกที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งผู้บริโภคจะมี 2สถานะ คือ ผู้ลงทุน(ซื้อเหรียญ) และผู้ใช้บริการทางเงิน(เงินกู้ในโลกการเงินยุคใหญ่) ในแง่ของ การเงินดิจิทัลเป็นธรรมทางการเงินนั้น คือ 1.ทำให้คนที่ยังเข้าไม่ถึงบริการทางการเงินสามารถเข้ามาใช้บริการทางการเงิน 2.ต้องมั่นใจได้ว่ามีความปลอดภัย 3.การคุ้มครองความเป็นส่วนตัว และ 4. ส่งเสริมดิจิทัลไฟแนนซ์เพื่อความยั่งยืน

สำหรับในฐานะนักลงทุนนั้น อยากมั่นใจว่าได้ข้อมูลถูกต้องครบถ้วน และและได้รับความคุ้มครอง หลังจากที่จ่ายเงินไปแล้ว ซึ่ง 2เรื่องนี้เป็นโจทย์ที่ไม่ง่าย เห็นได้จากผลศึกษาพบว่า การลงทุนในICO เกือบครึ่งล้มเหลวใน 4เดือน หลังจากได้รับการจ่ายเงินไปแล้ว ส่วนหนึ่งมาจาก การเขียนโค๊ตที่เปิดช่องว่างโดยไม่ตั้งใจฉ้อโกง

“ความชัดเจนเรื่องวัตถุประสงค์การใช้เงิน หรือมูลค่าของเหรียญ เหล่านี้เป็นสิ่งที่นักลงทุนต้องการความคุ้มครอง เพราะInvestor สนใจลงทุนใน บิทคอยน์ /คริปโทที่ตั้งใจจะเป็นเงิน อย่างบอกว่าทั้งโลกบิทคอยน์มีไม่เกิน 21ล้านเหรียญ ,หรือเราซื้อเหรียญ ซื้อหุ้นเพื่อสนับสนุนสตาร์ทอัพ และDeFi หรือ โลกของการเงิน สมาร์ทคอนแทรก “

ในแง่ผู้ใช้บริการทางการเงินในไทยยังสนใจเรื่องลงทุนมากกว่า สำหรับDeFiนั้นศักยภาพในการโอนเงินมีความโปร่งใส ช่วยลดต้นทุน ลดระยะเวลาทำธุรกรรม ซึ่งเริ่มขยายบริการสำหรับคนที่ยังไม่มีบัญชีธนาคารโดยรองรับด้วยบลอคเชน นอกจากนี้เป็นโอกาสสร้างประวัติสินเชื่อโดยใช้ข้อมูลดิจิทัลเป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นโอกาสต่อยอด

“สฤณี”กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม เรื่องความเป็นธรรมทางการเงินดิจิทัลสำหรับการกำกับดูแลนั้น เนื่องจากโลกใหม่จะมีทั้งผู้ให้บริการธนาคาร นันแบงก์ แอปพลิเคชั่น และDeFi ซึ่งมีแต่นักพัฒนาระบบ ไม่มีตัวกลาง(มีแต่Code) เรื่องมาตรฐานการกำกับเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายสำหรับหน่วยงานกำกับ เช่น ปัจจุบัน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) หรือมาตรการบางอย่าง จึงเป็นความท้าทายต่อไปในอนาคต ซึ่งโลกใหม่ต้องไม่ละเลยผู้บริโภค

อ้างอิง
https://www.thansettakij.com/money_market